ขอบเขตการศึกษา


1) การทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

           ทบทวนรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศมาเลเซีย ตลอดจนรวบรวมนโยบายแผนพัฒนา คำสั่ง มติ กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาในบริเวณพื้นที่โครงการทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงนโยบายและแผนอนุรักษ์ต่าง ๆ ในพื้นที่

2) การศึกษาด้านวิศวกรรม

           รวบรวมข้อมูลด้านการสำรวจสภาพภูมิประเทศ ลักษณะของเส้นทาง อุปสรรคสิ่งกีดขวาง และจุดควบคุมอื่น ๆ รวมถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของโครงการที่ได้มีการออกแบบไว้แล้ว โดยกระทรวงโยธาธิการ ประเทศมาเลเซีย หากมีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางต่อการพัฒนาโครงการจะเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม พร้อมทั้งออกแบบเบื้องต้นตามรูปแบบที่เสนอแนะ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้

3) การศึกษาด้านจราจรและขนส่ง

           ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลปริมาณการจราจร เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์สภาพการจราจรขนส่งในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มการจราจรในอนาคตบนโครงข่ายทางหลวง ที่เกี่ยวข้อง

4) การศึกษาผลกระทบด้านโบราณคดี

           ศึกษา รวบรวมข้อมูล และสำรวจด้านโบราณคดีในระยะ 1 กิโลเมตรจากกึ่งกลางแนวเส้นทางโครงการ พร้อมทั้งทำการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านโบราณคดี

5) การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม

           ดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้สอดคล้องกับแนวทางในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการทางหลวง (Guidelines for Preparation of Environmental Impact Statement of a Road Scheme) (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 7 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564) โดยรวบรวมข้อมูลนำมาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ครอบคลุม 4 องค์ประกอบหลักคือทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางด้าน ชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ และคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต รวมทั้งสิ้น 37 ปัจจัย โดยการจัดทำรายการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Checklist) และคัดกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญนำมาศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EIA) เพื่อกำหนดเป็นมาตรการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม มาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และแผนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการ

6) การมีส่วนร่วมของประชาชน

           จัดให้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน อันจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน